ศัลยกรรมออร์โธปิดิกส์ผ่าตัดกระดูกสุนัขและแมว 

สัตวแพทย์ที่โรงพยาบาลสัตว์เชียงใหม่โชตนาของเราเข้ารับการอบรมฝึกฝนด้านการผ่าตัดมาอย่างดี มีประสบการณ์และความชำนาญด้านศัลยกรรมผ่าตัดด้านต่างๆมาเป็นเวลานาน ถือได้ว่าเป็นศัลยแพทย์ที่ดีที่สุดคนหนึ่งของจังหวัดเชียงใหม่ และไม่เพียงแต่เราทุกคนจะประสบความสำเร็จในวิชาชีพนี้แล้ว ทีมงานทุกคนของเรามีความรักและเมตตาต่อสัตว์ทุกตัวเป็นอย่างยิ่ง เราเข้าใจดีว่าการตัดสินใจให้สัตว์เลี้ยงอันเป็นที่รักของท่านเข้ารับการผ่าตัดเป็นเรื่องไม่ง่ายนัก

แม้จะมีความมั่นใจในเรื่องของความชำนาญ ห้องผ่าตัด เครื่องมือการวางยาและดมยาสลบที่พร้อมของเรามากเพียงใดก็ตาม เราทราบดีว่าการผ่าตัดเป็นเรื่องลำบากใจสำหรับคุณและสัตว์เลี้ยงของคุณ สิ่งเหล่านี้ทำให้พวกเราต้องวางขั้นตอนการและขบวนการผ่าตัดทุกอย่างไว้อย่างดีที่สุดเพื่อว่าสัตว์เลี้ยงของท่านจะได้สบายและปลอดจากความเครียดต่างๆมากที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ บางทีขั้นตอนก่อนผ่าตัดที่สำคัญที่สุดก็คือ การหารือถกเถียงว่าเหตุใดเราจึงเชื่อว่าขบวนการเฉพาะจึงมีความจำเป็นและประกอบด้วยอะไรบ้าง เช่นกันเรายังจัดเตรียมข้อมูลเกี่ยวกับการดูแลที่ถูกต้องหลังการผ่าตัดและตอบทุกคำถามที่ยังค้างคาใจของคุณเพื่อว่าคุณจะได้รู้สึกสบายใจว่าคุณได้เลือกตัดสินใจกระทำในสิ่งที่ถูกต้องสำหรับสัตว์เลี้ยงของคุณ พวกเราเชื่อว่าการเอาใจใส่ดูแลสัตว์ป่วยและเจ้าของแต่ละรายเป็นการเฉพาะด้วยความเป็นกันเองตลอดทั้งประสบการณ์ของพวกเราส่งผลให้การบริการด้านศัลยกรรมผ่าตัดของเราเมีแบบอย่างเเฉพาะเป็นของตัวเองต่างจากที่อื่น

โปรดทราบว่าเพื่อเป็นการเตรียมตัวสัตว์เลี้ยงก่อนเข้ารับการผ่าตัด ขอท่านงดให้อาหารแก่สัตว์เลี้ยงอย่างน้อย 12 ชั่วโมงก่อนรับการผ่าตัด อย่างไรก็ตามกรุณาจัดน้ำสะอาดให้เขาดื่มกินตามปรกติจนกว่าท่านจะพาเขาไปยังโรงพยาบาลของเรา

ขั้นตอนการทำศัลยกรรมผ่าตัดแบบปลอดเชื้อโรค (Sterile Surgery Technique)

ก่อนการผ่าตัดทุกครั้งสัตว์เลี้ยงของท่านจะได้รับการตรวจร่างกายตลอดจนการตรวจเลือดเพื่อให้ทราบถึงสภาวะการทำงานของอวัยวะภายในส่วนต่างๆในร่างกายว่ามีความสมบูรณ์พร้อมเข้ารับการผ่าตัดโดยมีความเสี่ยงจากการวางยาสลบมากน้อยเพียงใด ในการผ่าตัดทุกชนิดเราใช้อุปกรณ์เครื่องมือต่างๆตลอดจนผ้าคลุมผ่าตัดที่ผ่านการฆ่าเชื้อกำจัดเชื้อโรคด้วยเครื่องอบความร้อนและความดันไอน้ำทุกครั้งด้วยมาตรฐานเดียวกันกับที่ใช้ในโรงพยาบาลของคนชั้นนำทั่วไป ทั้งนี้เพื่อลดความเสี่ยงจากการติดเชื้อโรคแทรกซ้อนที่เกี่ยวข้องกับการผ่าตัดกับสัตว์เลี้ยงของท่าน

การวางยาสลบและโปรแกรมการจัดการความเจ็บปวด

การดูแลหลังการผ่าตัดมีความสำคัญมากต่อความสำเร็จและความสุขสบายของสัตว์เลี้ยงที่ได้รับการผ่าตัด เราเชื่อว่าในเรื่องการดูแลจัดการกับความเจ็บปวด (pain management) เนื่องจากสัตว์เลี้ยงที่ได้รับการผ่าตัดไม่สามารถบอกเจ้าของถึงความเจ็บปวดที่เกิดขึ้น ฉะนั้นเขาควรได้รับการดูแลรักษาความเจ็บปวดหลังผ่าตัดอย่างจริงจัง ไม่ว่าเขาจะแสดงอาการที่บ่งถึงความเจ็บปวดก็ตาม

แต่โดยความเป็นจริงแล้วความเจ็บปวดจากผลการผ่าตัดทุกชนิดเกิดขึ้นจริง(สังเกตได้จากพฤติกรรมที่เปลี่ยนไปจากเดิม) มีผลต่อสภาวะจิตใจของสัตว์และทำให้การหายเนิ่นนานไปกว่าปกติ โรงพยาบาลสัตว์ของเรากระทำทุกวิถีทางในอันที่จะบรรเทาความเจ็บปวดที่เกิดขึ้นหลังผ่าตัดกับตัวสัตว์ป่วยให้น้อยที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้

เรายังเชื่อว่าการดูแลความอบอุ่นในร่างกายสัตว์ป่วยระหว่างรับการผ่าตัดและหลังผ่าตัดมีความสำคัญยิ่ง การควบคุมอุณหภูมิของสัตว์ป่วยทั้งช่วงระหว่างและหลังการให้ยาสลบเป็นการช่วยเพิ่มความสบายแก่ตัวสัตว์ป่วยและส่งเสริมให้แผลหายเร็วขึ้น ช่วยลดความเจ็บปวด ช่วยลดการติดเชื้อแทรกซ้อน และเร่งให้การฟื้นจากการสลบรวดเร็วขึ้น เราใช้แผ่นทำความอบอุ่นด้วยไฟฟ้ารองตัวสัตว์ป่วยทุกตัวในช่วงระหว่างวางยาสลบและภายหลังการผ่าตัด

ทางโรงพยาบาลสัตว์เชียงใหม่โชตนาของเราเพร้อมให้บริการด้านศัลยกรรมออร์โธปิดิกส์ผ่าตัดกระดูกแก่สัตว์เลี้ยงอันเป็นที่รักของท่านในยามที่ต้องประสบอุบัติเหตุชนิดไม่คาดฝันไว้ตลอดเวลา


วิธีการรักษาสภาวะกระดูกแตกหัก

โดยหลักๆแบ่งออกเป็น 4 วิธีดังต่อไปนี้

วิธีนี้ไม่ต้องทำผ่าตัด ซึ่งทำได้เฉพาะกรณีกระดูกหักบางลักษณะเท่านั้น และมักมีปัญหาแทรกซ้อนในภายหลัง

Casting 1

ใส่เฝือกรักษาขาหัก

วิธีนี้ต้องมีการผ่าตัด เพื่อสอดใส่พินเข้าไปไว้ในโพรงกระดูกเพื่อทำให้กระดูกที่แตกหักแยกจากกันมาอยู่ในแนวเดียวกัน และยึดด้วยลวดหรือสกรูกันไม่ให้กระดูกเคลื่อนหรือถ้าเคลื่อนก็ให้เกิดขึ้นน้อยที่สุด

Pining in dog

ใส่พินพร้อมลวดยึดรักษาขาหัก

วิธีนี้ต้องทำการผ่าตัดเพื่อใส่เพลทโดยใช้สกรูยึดเพลทกับกระดูกที่หักไว้ด้วยกันภายหลังจัดเรียงกระดูกที่หักให้กลับเเข้าแนวเดิมแล้ว

Plating in dog

การใส่แพลทและสกรูรักษาขาหัก

วิธีนี้ต้องผ่าตัดเพื่อสอดเหล็กยึดไว้กับเนื้อกระดูกตามแนวขวางเพื่อใช้สำหรับยึดโยงไว้กับโครงเหล็กภายนอกร่างกายตามแนวขนานกับกระดูก

External Fixation 1

ใส่โครงเหล็กยึดไว้ภายนอกรักษาขาหัก


External Fixation 2

ใส่โครงเหล็กยึดไว้ภายนอกรักษาขาหัก

รายการศัลยกรรมผ่าตัดกระดูกบางส่วนที่เราชำนาญและทำเป็นประจำ ได้แก่

นอกจากนี้เรายังให้บริการศัลยกรรมผ่าตัดกระดูกอื่นๆที่ไม่อยู่ในรายการข้างล่างนี้หากท่านประสงค์

วิธีการรักษากระดูกหักโดยการใส่เฝือกนี้ไม่ต้องมีการผ่าตัด แต่ใช้สำหรับรักษากระดูกหักบางกรณีเท่านั้นและมักพบปัญหาแทรกซ้อนตามาจากการรักษาวิธีนี้

เป็นวิธีการรักษากระดูกหักโดยการผ่าตัดเพื่อสอดแท่งเหล็กสแตนเลส (Pin) เข้าไปไว้ในโพรงกระดูกทั้งสองข้างที่หักออกจากกัน จุดประสงค์เพื่อจัดให้กระดูกที่หักดังกล่าวเข้ามาอยู่ระนาบเดียวกันเหมือนเดิมมากที่สุดและเซลล์ของกระดูกก็จะทำหน้าที่ประสานกระดูกที่หักออกจากกันให้มาเชื่อมต่อกันตามธรรมชาติ หรือที่เรียกว่า กระดูกพอกเชื่อมกัน  ทั้งนี้กระดูกที่หักจากกันนั้นต้องถูกยึดโยงด้วยพินให้อยู่นิ่งและมีเสถียรภาพมั่นคงมากพอที่จะต้านทานแรงบิดและแรงรั้งของกล้ามเนื้อบริเวณรอบกระดูกที่หักจากกันดังกล่าวจึงจะทำให้การประสานเชื่อมต่อกระดูกเป็นไปด้วยดี ไม่เกิดปัญหากระดูกไม่ยอมติดกัน (non- union) ซึ่งมักเกิดจากความไม่มีเสถียรภาพของกระดูกที่หักออกจากกันภายหลังการผ่าตัด

เป็นวิธีการรักษากระดูกหักที่มีประสิทธิภาพในการยึดโยงให้กระดูกที่หักออกจากกันมาอยู่แนบชิดติดกันและมีเสถียรภาพมั่นคงในแง่ของการยึดโยงกระดูกที่หักแต่เดิมไว้ได้ดีกว่าแบบการรักษาโดยใช้พินอย่างมีนัยสำคัญ ที่สำคัญคือเพลทและสกรูจะสามารถยึดให้กระดูกที่แตกหักออกจากกันให้เข้ามาอยู่ใกล้เคียงกับแนวเดิมตามธรรมชาติได้มากที่สุด และการประสานต่อเชื่อมกันโดยเซลล์กระดูกก็เป็นไปในลักษณะที่ต่างไปจากวิธีการใส่พิน โดยที่รอยเชื่อมต่อของกระดูกจะเรียบเสมอเป็นเนื้อเดียวกันโดยปราศจากรอยพอกปูดโปนของกระดูกบริเวณที่หักเหมือนอย่างเช่นการเชื่อมต่อแบบกระดูกพอกแต่อย่างใด

วิธีการนี้ใช้ในกรณีบริเวณกระดูกหักมีแผลเปิด โดยหลักการเป็นวิธีการดามกระดูกที่หักจากกันจากภาพนอกโดยใช้โครงเหล็กยึดโยงเฉพาะด้านนอกเพื่อให้กระดูกที่หักจากกันอยู่ในระนาบเดียวกันและมีเสถียรภาพมั่นคงพอที่จะทำให้เซลล์กระดูกมาเชื่อมประสานต่อให้กระดูกติดกันต่อไป ทั้งนี้เพราะกรณีแผลเปิดเช่นนี้เท่ากับมีการติดเชื้อโรคกับแผลดังกล่าว การผ่าตัดโดยใช้วิธีใส่พินหรือแพลทจะเสี่ยงต่อการนำเชื้อโรคเข้าไปติดเนื้อกระดูก ซึ่งจะทำให้เกิดปัญหาแทรกซ้อนตามมา ทำให้กระดูกไม่สามารถติดกันตามปรกติเพราะเชื้อโรคนั่นเอง บางกรณีวิธีนี้ก็ใช้กับสภาวะกระดูกหักแบบไม่มีแผลเปิดแต่อย่างใด ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับความเหมาะสมตามวิจารณาญานของศัลยแพทย์ผู้รับผิดชอบ

เป็นวิธีการใช้เพลทและสกรูไปยึดกระดูกเชิงกรานที่หักเพื่อทำให้สภาพโครงกระดูกเชิงกรานกลับเข้าสู่สภาพเดิมมากที่สุด เป็นการป้องกันไม่ให้เกิดปัญหาช่องเชิงกรานตีบแคบ ซึ่งจะก่อปัญหาตามมามากมาย เช่น การคลอดยากในกรณีที่เป็นเพศเมีย หรือ เกิดปัญหาท้องผูกขับถ่ายไม่ปรกติหากสภาพช่องเชิงกรานที่แตกหักเชื่อมต่อกันแบบตีบแคบผิดปรกติอย่างมากเนื่องจากการถูกปล่อยปละละเลยไม่ได้รับการผ่าตัดรักษา เป็นต้น

Before

ก่อน


After

หลัง

เป็นการแก้ไขปัญหากรณีหัวกระดูกต้นขาแตกหัก โดยใช้วิธีการตัดหัวกระดูกที่หักออกทิ้งไป แล้วปล่อยให้เกิดเป็นข้อสะโพกเทียมซึ่งเกิดจากการที่ร่างกายสร้างพังผืดมายึดโยงข้อเข้าไว้ด้วยกัน ทั้งนี้วิธีการนี้จำกัดเฉพาะสุนัขที่น้ำหนักไม่เกินกว่า ๑๕ ก.ก.เท่านั้น  เพราะหากน้ำหนักตัวมากกว่านี้ผลลัพธ์ที่ได้จากการรักษาด้วยการตัดหัวกระดูกหักดังกล่าวออกทิ้งจะไม่ดีเลย

ส่วนของหัวและคอกระดูกที่ต้องตัดออก

ส่วนของหัวและคอกระดูกที่ต้องตัดออก

 

After femoral head and neck being removed.

หลังจากส่วนหัวและคอกระดูกถูกตัดออก

เป็นวิธีการแก้ไขความผิดปรกติของสะบ้าหัวเข่าที่เคลื่อนไปจากตำแหน่งปรกติ เนื่องจากร่องสำหรับสะบ้าหัวเข่าตื้น และ/หรือความผิดปรกติของรูปทรงกระดูกขาส่วนต้นและกระดูกส่วนล่างถัดจากกระดูกส่วนต้นขาลงมาที่ผิดไปจากปรกติ


สะบ้าหัวเข่าเคลื่อนไปจากต่ำแหน่งปรกติ (๕ และ ๖)

สะบ้าหัวเข่าเคลื่อนไปจากตำแหน่งปรกติ (๕ และ ๖)

 

เซาะทำร่องให้ลึกลงไป

เซาะทำร่องให้ลึกลงไป

 

เซาะแต่งร่องให้ลึกลงไป

เซาะแต่งร่องให้ลึกลงไป

เป็นวิธีการผ่าตัดเพื่อแก้ไขสภาวะฉีกขาดของเอ็นยึดข้อเข่าส่วนหน้า เพื่อทำให้ขาข้างดังกล่าวสามารถใช้งานได้ตามปรกติ แทนที่จะเดินกระเพลก หรือเดินยกขาเป็นส่วนใหญ่ใช้งานได้ไม่ปรกติ นั่นหมายถึง คุณภาพชีวิตของสัตว์ป่วยที่มีปัญหาเอ็นยึดข้อเข่าส่วนหน้าฉีกขาดดังกล่าวจะลดลงไปอย่างมาก จากเดิมที่เคยวิ่งเล่นสนุกสนานก็เปลี่ยนไป หากไม่ได้รับการรักษาที่ถูกต้อง

เป็นการผ่าตัดเพื่อรักษาสภาพที่ปลายเท้าเกิดการติดเชื้อรุนแรงจนไม่สามารถเยียวยารักษาให้หายเป็นปรกติได้  หรือกรณีกระดูกส่วนปลายเสียหายอย่างรุนแรงมากจนไม่สามารถรักษากระดูกที่แตกเสียหายให้คืนกลับสู่สภาพปรกติได้

This post is also available in: อังกฤษ